บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2017

Gliese 163c

รูปภาพ
Gliese 163c Gliese 163c มีขนาดใหญ่กว่าโลกอย่างน้อย 7 เท่า อยู่ห่างออกไปราว 49 ปีแสง โคจรรอบดาว Gliese 163 ซึ่งเป็นดาวแคระแดง (ดาวฤกษ์ขนาดเล็ก) ดวงหนึ่ง โดยใช้เวลาโคจรเพียงแค่ 26 วันเท่านั้น และด้วยความที่มันค่อนข้างจะอยู่ใกล้ดาวฤกษ์ ทำให้มันได้รับแสงแดดจากดาวฤกษ์มากกว่าที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าอุณหภูมิบนพื้นผิวดาวจะอยู่ที่ประมาณ 60 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจร้อนเกินไปสำหรับมนุษย์ แต่สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นอาจอยู่ได้

Gliese 667Cc

รูปภาพ
 Gliese 667Cc Gliese 667Cc เป็นดาวเคราะห์คล้ายโลกที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกราว 4-5 เท่า อยู่ห่างจากโลกไปไกลกว่า 22.1 ล้านปีแสง โคจรรอบดาวฤกษ์ Gliese 667C ในระยะที่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป ซึ่งนั่นทำให้ดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ในเขตเอื้อต่อการมีชีวิต และน้ำสามารถดำรงอยู่ในสภาวะของเหลว แต่พื้นผิวดาวจะร้อนกว่าโลก และมีแรงดึงดูดมากกว่าโลก 2 เท่า ซึ่งหมายความว่า ถ้าหากมนุษย์ไปอยู่บนดาว ก็จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวเลยทีเดียว

Gliese 581g

รูปภาพ
 Gliese 581g   Gliese 581g อยู่ห่างจากโลกประมาณ 20 ปีแสง โคจรรอบดาว Gliese 581 ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ของมันในระยะที่พอดิบพอดี อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศอยู่ระหว่าง -31 ถึง -12 องศาเซลเซียสและด้วยความที่มันหมุนรอบตัวเองช้ามาก ทำให้พื้นผิวมันมีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน คือประมาณ 70 องศาเซลเซียสสำหรับด้านที่หันเข้าหาดาวฤกษ์ และประมาณ -4 องศาเซลเซียสสำหรับด้านที่หันออกจากดาวฤกษ์ ซึ่งถือว่าเป็นอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิบนโลกมากที่สุด และสิ่งมีชีวิตอาจอยู่ได้

Gliese 370b

รูปภาพ
Gliese 370b Gliese 370b หรือ HD 85512 b มีขนาดใหญ่กว่าโลกราว ๆ 3.6 เท่า อยู่ไกลจากโลกไป 36 ปีแสง โคจรรอบดาวฤกษ์ชื่อว่า HD 85512 ใช้เวลา 54 วันในการหมุนรอบตัวเอง มีเมฆปกคลุมและมีบรรยากาศคล้ายกับโลกของเรามาก ส่วนอุณหภูมิพื้นผิวของดาวดวงนี้อยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส หรือก็พอ ๆ กับอากาศทางตอนใต้ของฝรั่งเศสนี่เอง

Kepler-22b

รูปภาพ
Kepler-22b  Kepler-22b เป็นดาวเคราะห์ที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากกลุ่มนักดาราศาสตร์ และกล่าวได้ว่ามีแนวโน้มจะเป็นโลกใบที่ 2 มากที่สุดในตอนนีี้ ดาวเคราะห์ดวงนี้มีสีฟ้าคล้ายโลกและปกคลุมด้วยก้อนเมฆ อยู่ห่างจากโลกไปไกลถึง 600 ปีแสง โคจรรอบดาวฤกษ์ที่เย็นกว่าดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะของเราอยู่หน่อย โดยใช้เวลา 290 วันในการโคจรรอบดาวฤกษ์ (เร็วกว่าโลกเพียง 75 วัน) มีอุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ราว ๆ 22 องศาเซลเซียส ซึ่งสบายมากสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก

ห้วงจักรวาล

รูปภาพ
ห้วงจักรวาลที่แสนกว้างใหญ่ ในห้วงจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลจนไม่อาจหาที่สิ้นสุดได้นี้ ประกอบไปด้วยดวงดาวนับล้าน ๆ ดวงลอยคว้างอยู่เต็มท้องฟ้าไปหมด และถึงแม้ว่าดาวแต่ละดวงจะอยู่ไกลโลกมาก จนมองเห็นเพียงจุดเล็ก ๆ ระยิบระยับ แต่ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มนุษย์สามารถมองเห็นดวงดาวเหล่านั้นได้ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ได้ค้นพบดวงดาวอีกหลายดวงที่อยู่ทั้งในและนอกระบบสุริยะ และนำมาซึ่งการศึกษาดวงดาวนอกระบบสุริยะที่มีลักษณะคล้ายโลกมากที่สุด แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้น ด้วยเทคโนโลยีที่ยังไม่ละเอียดและมีประสิทธิภาพพอ ทำให้นักดาราศาสตร์ไม่อาจสรุปได้ว่าดาวเคราะห์คล้ายโลกนั้น จะสามารถเป็นโลกใบที่ 2 หรือฝาแฝดของโลกได้หรือไม่             แต่ล่าสุด เห็นทีว่าการค้นหาโลกใบที่ 2 จะง่ายขึ้นอีกหน่อยแล้ว เมื่ออเบล เมนเดซ นักดาราศาสตร์จากห้องปฏิบัติการวิจัยดาวเคราะห์ที่เอื้อชีวิต ในมหาวิทยาลัยเปอร์โตริโก สหรัฐอเมริกา ได้ออกมาเปิดเผยว่า ตอนนี้มีเทคโนโลยีใหม่ในการสังเกตดาวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ถูกนำมาใช้กับกล้องโทรทรรศน์ของนาซา และกล้องโทรทรรศน์ที่หอสังเกตการณ์ในประเทศชิลี ซึ่งเทคโนโลย

แนะนำคุณครู

รูปภาพ
แนะนำคุณครู นางสาวกรณิกา   คิดดีจริง  (ครูหนูนิ่ม) สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย นักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์